65+
ควรฉีดวัคซีน ป้องกัน
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ในผู้สูงอายุ
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567
ราคา 1,150.- บาท/ต่อโดส
ทำไมต้องฉีดในผู้สูงอายุ | สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อน |
ผู้สูงอายุมีภูมิต้านทานต่ำ หากเกิดอุบัติเหตุ จะเป็นบาดทะยักได้ง่าย | มีประวัติการแพ้วัคซีนบาดทะยัก โรคคอตีบ ไอกรน |
หากไม่เคยฉีดหรือฉีดไม่ครบจะมีโอกาสเป็นโรคคอตีบ แนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี | เคยมีประวัติเป็นภาวะชัก |
แนะนำให้ฉีด 1 เข็มในช่วงชีวิตของผู้สูงอายุที่ไม่เคยรับวัคซีนป้องกัน ไอ กรน มาก่อน | อาการบวม หลังจากได้รับวัคซีนอย่างรุนแรง รู้สึกไม่สบายตัว ณ วันที่จะไปฉีดวัคซีน |
(ไม่รวม ค่าบริการต่างๆ 500 บาท ไม่รวมค่าเดินทางฉีดให้บริการที่ให้บริการ)
เชื้อก่อโรค สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบ และการติดเชื้อนิวโมคอคคัสรุนแรง เช่น การติดเชื้อในกระแสโลหิต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งที่มีโรคเรื้อรัง ผู้ที่ไม่มีม้าม ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและอาจเสียชีวิต
วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส หรือเรียกว่าวัคซีนนิวโมคอคคัสแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV-13, PCV-15, PCV-20)
แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้าม 1 เข็ม โดยแนะนำให้ฉีดในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อรุนแรง ได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่ได้รับการตัดม้ามหรือม้ามไม่ทำงาน ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น หัวใจวายเรื้อรัง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตวาย โรคตับแข็ง เบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ดี ผู้ป่วยที่มีการรั่วซึมของน้ำไขสันหลัง และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือยาสเตียรอยด์ขนาดสูง ติดเชื้อเอชไอวี เปลี่ยนถ่ายอวัยวะและปลูกถ่ายไขกระดูก
วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPV-23)
โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้าม 1 เข็มในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV-13,PCV-15) โดยเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 1 ปี
พบว่าการฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัสในผู้สูงอายุ สามารถลดการเกิดปอดอักเสบและการติดเชื้อรุนแรงจากเชื้อนิวโมคอคคัสที่มีสายพันธุ์ตรงกับในวัคซีนได้โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีร่วมด้วย
ผลข้างเคียงภายหลังฉีดวัคซีนมักเป็นอาการเฉพาะที่ เช่น เจ็บ บวม แดง ตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน บางรายอาจมีอาการยกแขนไม่ขึ้นหรือมีไข้ ปวดศีรษะซึ่งโดยทั่วไปมักไม่รุนแรง หายได้เองใน 2-3
โรคบาดทะยัก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่บาดแผลมักเกิดตามหลัง การมีบาดแผลจากอุบัติเหตุ บาดแผลเรื้อรัง พบในผู้สูงอายุและมีอัตราตายสูง
โรคคอตีบ ปัจจุบันพบน้อยมากในเด็กเล็ก แต่กลับพบโรคคอตีบเพิ่มสูงขึ้นในผู้ใหญ่รวมทั้งอาจพบมีการระบาดของโรคคอตีบในบางพื้นที่ในประเทศไทย
การไม่ได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักและคอตีบ ฉีดแบบเข็มกระตุ้นในวัยผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิคุ้มกันต่อโรคบาดทะยักและคอตีบลดต่ำลงในผู้สูงอายุทำให้มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้นการฉีดวีคซีนเข็มกระตุ้นทุก 10 ปี ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุน่าจะสามารถช่วยลดการเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น