แชร์

การฟื้นฟูในระยะแรกหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

อัพเดทล่าสุด: 2 เม.ย. 2025
183 ผู้เข้าชม

การฟื้นฟูในระยะแรกหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

วันที่ 1-2 หลังผ่าตัด

ฝึกการหายใจเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ฝึกการหายใจเข้าออกลึกๆ
ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงที่ข้างเตียง หรือช่วยให้อยู่ในท่านอนศีรษะสูง (Semi-Fowlers position) โดยใช้มือทั้ง 2 ข้างจับที่ท้อง ให้สูดลมหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ลึกๆ จนรู้สึกว่าหน้าท้องขยายตัว/ท้องป่อง แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ เบาๆ จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัว/ท้องแฟบ แนะนำให้ปฏิบัติบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้อย่างน้อย 5-10 ครั้ง ทุกชั่วโมง

การไอหรือกระแอม
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนศีรษะสูง (Semi-Fowlers position) แนะนำให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก สลับกับค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ ทำซ้ำ 3 ครั้ง จากนั้นให้หายใจเข้าลึกเต็มที่ กลั้นหายใจไว้สักครู่ และไอออกมาอย่างแรงและเร็วทันที ตามด้วยการหายใจเข้าออกปกติ จะช่วยกระตุ้นปฏิกิริยาการไอ และไอเอาเสมหะที่ตกค้างออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้สไปโรมิเตอร์ (Incentive spirometer)/Triflo
คือตัวช่วยบริหารปอดสำหรับลดภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังผ่าตัด เครื่องนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ฝึกการหายใจเข้าลึกๆ
อย่างช้าๆ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจแข็งแรง และช่วยให้การทำงานของปอดเป็นปกติ

 

ขั้นตอนการใช้ 

1.ให้ผู้ป่วยนั่งหลังตรง ถือเครื่องมือไว้ระดับอก โดยให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้ว ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ประมาณ 2 - 3 ครั้ง
2.ค่อยๆ ดูด จนกระทั่งลูกบอลลอยขึ้น ดูดขึ้นค้างไว้ ประมาณ 3 - 5 วินาที (นับ 1 - 5) หรือเท่าที่ร่างกายจะสามารถทำได้ แล้วผ่อนลมหายใจออก ทำเช่นนี้ 10 - 20 ครั้ง วันละ 3 - 4 รอบ (พยายามให้ผู้ป่วยดูดให้ได้อย่างน้อยวันละ 100 ครั้ง จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดได้ดีขึ้น)
3. กรณีนั่งหลังตรงไม่ได้ ให้ดูดท่านอนได้ แต่ควรดูดขณะนอนอยู่ในท่าต่างๆ เช่น ท่านอนหงาย ท่าตะแคงซ้าย-ขวา เพื่อให้ปอดขยายได้ทุกทิศทาง

การออกกำลังข้อเท้า
กระดกข้อเท้าขึ้นลง ทำเซตละ 5-10 ครั้ง เพื่อขยับข้อต่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดอาการเท้าบวมและป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้

วันที่ 2-3 หลังผ่าตัด

เริ่มออกกำลังกายเบาๆ เพื่อนกระตุ้นกล้ามเนื้อ

สามารถเริ่มออกกำลังกายกล้ามเนื้อแขนและขาได้
ออกกำลังกายแขน ยกแขนขึ้น-ลง กางแขน-หุบแขน หมุนแขนเข้า-หมุนแขนออก งอศอก-เหยียดศอก เซตละ 15-20 ครั้ง ทำ 2 เซต/วัน
ออกกำลังกายมือ กระดกข้อมือขึ้น-ลง กำมือ-แบมือ เซตละ 15-20 ครั้ง ทำ 2 เซต/วัน
ออกกำลังกายขา นอนราบเกร็งกล้ามเนื้อเข่า และกดเข่าลงบนที่นอนให้มากที่สุด 15-20 ครั้ง ทำ 2 เซต/วัน
ออกกำลังกายข้อเท้า กระดกข้อเท้าขึ้น นับ 1-10 แล้วจึงถีบปลายเท้าลง ทำสลับกัน เซตละ 15-20 ครั้ง ทำ 2 เซต/วัน

วันที่ 4-7 หลังผ่าตัด

เริ่มฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลัง

สามารถเริ่มการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังได้
นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง แขนแนบลำตัว เกร็งกล้ามเนื้อท้อง กดหลังกับพื้นเตียง เกร็งนาน 5 วินาที พัก และทำติดต่อกัน 10 ครั้ง
นอนหงายชันเข่าทั้ง 2 ข้าง งอสะโพก และข้อเข่า แขนแนบลำตัว ยกศีรษะและลำตัวช่วงบน เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องค้างไว้ 5 วินาที ทำติดต่อกัน 10 ครั้ง
นอนหงายชันเข่าสองข้าง ใช้มือจับเข่างอ เข่าจรดอกทำแค่ที่ทนได้แล้วปล่อย สลับทำทีละข้าง ข้างละประมาณ 10 ครั้ง โดยการออกกำลังกายแต่ละท่านั้นขึ้นอยู่กับชนิด และวิธีการผ่าตัดด้วย ดังนั้น ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่าตัด แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือนักกายภาพบำบัดก่อน

หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบ

กิจกรรมที่ต้องก้มตัวสุดหรือแอ่นหลังสุดเป็นประจำ
ก้มหลังยกของ ก้มหลังเก็บของให้ใช้วิธีย่อเข่าแทน
ควรเว้นการยกของหนักมากเกินกำลัง
ไม่ควรอยู่ในที่ซึ่งมีการสั่นสะเทือน
ไม่นั่งนานๆ โดยเฉพาะในที่นั่งซึ่งอ่อนนุ่มจนทำให้หลังโค้งงอ หากงานที่ทำจำเป็นต้องนั่งตลอดทั้งวัน ควรหาโอกาสเดินเปลี่ยนอิริยาบถ ทุก 1 ชั่วโมง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
อาการปวดเมื่อยตามตัวในผู้สูงอายุ
ส่วนใหญ่มักเกิดจากอาการกล้ามเนื้อ แขน ขา และอวัยวะต่างๆ เสื่อมลงตามธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยบ่อยๆ อาการปวดจะมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงปวดรุนแรง ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวด และถ้าเราทราบสาเหตุก็จะสามารถบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีที่เหมาะสม
19 มี.ค. 2025
 อันตรายจากควันธูป
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อของคนไทยแต่รู้หรือไม่ว่าควันธูปแฝงไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด
19 มี.ค. 2025
โรคอาการเอ็นบริเวณข้อมืออักเสบ
โรคเดอโกแวง เป็นการอักเสบและมีการตีบแคบของเอ็นหุ้มข้อที่ทำหน้าที่เหยียดข้อมือ (Wrist extensors) ซึ่งอยู่บริเวณตำแหน่งปุ่มกระดูกเรเดียล (Radial styloid) ของข้อมือ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 3–5 เท่า มักพบในผู้หญิงช่วงอายุ 30–50 ปี มีหลายชื่อ คือ Washerwoman’s sprain; Radial styloid tenosynovitis; De Quervain’s tenosynovitis
19 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy