แชร์

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

อัพเดทล่าสุด: 2 เม.ย. 2025
127 ผู้เข้าชม

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)


หรือที่หลายคนเรียกว่า "น้ำตาลตก" เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม./เดซิลิตร. ซึ่งเกิดได้ทั้งในผู้ป่วยเบาหวานและคนทั่วไป

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
การรับประทานอาหารไม่เพียงพอ หรือ ทานอาหารไม่ตรงเวลา
การออกกำลังกายมากเกินไป โดยไม่ได้รับพลังงานที่เพียงพอ
การใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ไม่เหมาะสม หรือ ใช้ยาเกินขนาด


อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่พบบ่อย 
อาเจียน,ปวดศีรษะ,หน้ามืดหรือมึนงง
หัวใจเต้นเร็ว,ตัวสั่น,มึนงง
อ่อนเพลีย,เหงื่อออกเยอะ
ทานอาหารมากขึ้น,หงุดหงิดง่าย
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นอันตรายหากไม่ได้รับการจัดการในทันที มันสามารถทำให้คุณขาดสติและเกิดอาการหลงลืมได้ ในกรณีที่ระดับน้ำตาลต่ำมาก อาจอันตรายถึงชีวิต

วิธีการดูแลตนเองเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
การรับประทานน้ำตาลหรืออาหารที่มีน้ำตาล เพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เช่น น้ำตาล , น้ำผึ้ง ปริมาณ 1 ช้อนชา
การปรับปริมาณการใช้ยา หากคุณเป็นโรคเบาหวานและใช้ยาต้านเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินและปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับความต้องการ
การดูแลสุขภาพระยะยาว ควรรักษาสุขภาพโดยการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในอนาคต
การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาสุขภาพและความปลอดภัยของคุณ หากคุณมีอาการหรือเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมทันที

การรู้เท่าทันและจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันอันตรายและรักษาสุขภาพให้สมดุล


บทความที่เกี่ยวข้อง
อาการปวดเมื่อยตามตัวในผู้สูงอายุ
ส่วนใหญ่มักเกิดจากอาการกล้ามเนื้อ แขน ขา และอวัยวะต่างๆ เสื่อมลงตามธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยบ่อยๆ อาการปวดจะมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงปวดรุนแรง ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวด และถ้าเราทราบสาเหตุก็จะสามารถบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีที่เหมาะสม
19 มี.ค. 2025
 อันตรายจากควันธูป
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อของคนไทยแต่รู้หรือไม่ว่าควันธูปแฝงไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด
19 มี.ค. 2025
โรคอาการเอ็นบริเวณข้อมืออักเสบ
โรคเดอโกแวง เป็นการอักเสบและมีการตีบแคบของเอ็นหุ้มข้อที่ทำหน้าที่เหยียดข้อมือ (Wrist extensors) ซึ่งอยู่บริเวณตำแหน่งปุ่มกระดูกเรเดียล (Radial styloid) ของข้อมือ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 3–5 เท่า มักพบในผู้หญิงช่วงอายุ 30–50 ปี มีหลายชื่อ คือ Washerwoman’s sprain; Radial styloid tenosynovitis; De Quervain’s tenosynovitis
19 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy