5 วิธีการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัย | รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home


5 วิธีการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัย | รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home

5 วิธีการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัย
ในภาวะการนอนติดเตียง


ผู้สูงวัยบางท่านที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีปัญหาเรื่องการนอนติดเตียงมักจะมีปัญหาขาดสารอาหารจน ร่างกายซูบผอมลง จนเกิดมีปุ่มกระดูกชัด รวมถึงอาจจะมีปัญหาด้านผิวหนังที่แห้ง หย่อนยาน ขาดความชุ่มชื้นและมีภาวะโรคร่วมอย่างอื่นที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดแผลกดทับ หรือ แผลที่เกิดจากการเสียดสีได้ เช่น ภาวะเบาหวานที่เป็นภัยร้าย แผลอักเสบติดเชื้อง่าย ภาวะเส้นเลือดที่ปลายแขนขาที่ไม่ดี รวมถึงปัจจัยความชื้นของอากาศและวัสดุ ที่ไม่เหมาะสม พื้นผิวแข็งมีเสี่ยงต่อการเสียดสีมาก ก็จะเป็นปัญหาได้เช่นกัน

วันนี้หมอมี 5 วิธีป้องกันการเกิดแผลกดทับมาฝากกันครับ

1. การเปลี่ยนและจัดท่าของผู้ป่วย โดยยึดเอาตามความสามารถในการขยับ และการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง
หากผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลยควรเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง อาจจะเป็นถ้านอนหงายแล้วนอนตะแคงโดยอาจใช้หมอนข้างนิ่ม ๆ มากั้น  รวมถึงใช้หมอนนิ่ม ๆ ใบเล็กแทรกอยู่ตามระหว่างปุ่มกระดูกที่อาจกดทับกันจนเป็นแผลได้ หากผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่สามารถนั่งบนรถเข็นควรจะเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
ระหว่างอาบน้ำเช็ดตัวเปลี่ยนผ้าอ้อมควรหมั่นสังเกตสีผิวที่เปลี่ยนแปลง หากเริ่มแดง คล้ำ ดูอักเสบควรหมั่นพลิกตัวเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ นะครับ

2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมาก 
ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือตัวเองได้น้อยมีภาวะโรคประจำตัวเยอะ ขาดสารอาหารรวมถึงมีปุ่มกระดูกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งกดทับ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เสริมได้ เช่น หมอนนุ่ม ๆ ที่จะช่วยลดแรงกดทับได้  เตียงลมที่มีคุณภาพ  หรือเจลรองตำแหน่งกดทับเป็นต้น

3. การป้องกันภาวะผิวหนังที่แห้งหรืออับชื้นมากจนเกินไป ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอุจจาระได้  แต่หากยังช่วยเหลือตัวเองได้ควรจัดตารางการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ใช้อยู่ให้สะอาดเป็นประจำ
รวมถึงอาจใช้ยา ครีมทาเคลือบผิว เพื่อลดอาการระคายเคือง หลังจากขับถ่าย เช่น มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) ทาผิวหลังอาบน้ำ และหลังทำความสะอาด รวมถึงเวลาที่พบผิวแห้ง  และควรหมั่นสังเกตหากผู้สูงวัยมีอาการคันมากผิดปกติ  ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดได้หลายสาเหตุ  เช่นแผลเบาหวาน ผื่นแพ้ผ้าอ้อม แพ้เทปปิดผิวหนัง หากเกามาก ๆ ไปนาน ๆ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อันตรายมาก ๆ ครับ

4. การดูแลด้านโภชนาการให้ผู้สูงวัยได้รับอย่างครบถ้วน
ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับอาหารผ่านทางสายยาง  รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ  การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันชนิดดี  ไขมันอิ่มตัว และชนิดทรานส์ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง และการให้สารอาหารหรือวิตามินเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ ในรายที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เสริมในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละรายก็เป็นสิ่งจำเป็น หากภาวะโภชนาการดี ก็จะทำให้โอกาสการเกิดแผลน้อยลง แม้ว่าจะเป็นแผลก็ฟื้นตัวได้ไวครับ

5. หมั่นสอดส่องความผิดปกติที่เกิดขึ้น กับผิวหนังบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผล
เช่น  ตำแหน่งที่มีการกดทับ ตำแหน่งที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ ปุ่มกระดูกที่พบมาก  บริเวณก้นกบ ตาตุ่ม ข้อศอก และด้านข้างของเข่า รวมถึงใบหู  ด้านหลังศีรษะ บริเวณปีกจมูกถ้าผู้ป่วยได้รับการใส่สายให้อาหารทางสายจมูกมานาน ๆ  
ซึ่งถ้าพบลักษณะสีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง ม่วง หรือดูมีลักษณะการอักเสบ เช่นกดเจ็บ หรือเปลี่ยนเป็นสีดำ  บ่งบอกถึงว่าบริเวณนั้น มีการกดทับ จนเนื้อตายที่รุนแรง หากมีลักษณะดังกล่าวควรจะขอความปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล  หรือหากพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะเพิ่มการดูแลการพลิกตัวให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดอุบัติการการเกิดแผลลงได้ครับ


หมอหวังว่า 5 เทคนิคนี้จะช่วยให้คนที่ดูแลผู้สูงวัย ที่มีปัญหามีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
สามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาเบื้องต้น และทำให้เกิดความมั่นใจในการดูแลมากขึ้นนะครับ ...
เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงวัยที่ท่านรัก
 

ด้วยรัก

นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

อายุรแพทย์ รพ.ผู้สูงอายุ Cherseryhome

 

เปิดให้เยี่ยมชมโครงการ  The Senizens แล้ววันนี้

เวลา 08.00 -16.00 น.

สอบถามโทร : 065-598-8783

FB : www.facebook.com/thesenizen/
Line : thesenizens
Web : www.thesenizens.com

ทุกวัน 07.00-18.00 น.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้