#ผู้สูงวัยมีอะไรต่างจากเรา ควรตระหนักว่า “การสูงวัย-การมีอายุที่มากขึ้น” เป็นภาวะที่
เกิดกับทุกคน ...เป็นธรรมชาติ ...เลี่ยงไม่ได้ ...การทำความเข้าใจ "ความสูงวัย" ของทุกๆ คนในครอบครัวจะทำให้สมาชิกในบ้านเกิดความเข้าใจและ สามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมนำมาซึ่งความสุขของผู้สูงอายุและสมาชิกทุกคนในครอบครัวด้วยเช่นเดียวกันนะครับ หมอเน้นว่าธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มีลักษณะ โดยรวมเหมือนกันในทุกคน แตกต่างเล็กน้อยตามภาวะโรคประจำตัว ระยะเวลาความช้าเร็วไม่มาก แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพก่อนหน้า การเตรียมความพร้อม พันธุกรรม ภาวะสุขภาพ โรคประจำตัวแต่ละบุคคล
ผู้สูงวัยนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง 3 ด้านใหญ่ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ตามมาด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ และสังคมอย่างประสานกันแยกไม่ออก หมอขอแนกย่อยออกมามีรายละเอียดให้ชัดๆ นะครับ
1.การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
ประสิทธิภาพของการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง เช่น ตามัว หูตึง ข้อต่อติดขัด เดินไม่สะดวก ระบบย่อยอาหารไม่ดี อั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือได้ยากขึ้น ความจำเสื่อม รวมทั้งมีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
เทคนิคการปรับตัว
ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี โดยออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอที่เหมาะสมกับร่างกาย ไม่หักโหม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เพียงพอ
หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด เค็มจัด มันจัด ฝึกหากิจกรรมทำ ฝึกสมองด้วยการคิดและคำนวณอยู่เป็นประจำเพื่อป้องกันการเสื่อมของสมอง
2.การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ
ผู้สูงอายุอาจมีความวิตกกังวลสูง รู้สึกง่ายที่ว่าขาดความรักความอบอุ่นจากบุตรหลาน คนใกล้ชิดขาดการยอมรับนับถือจากการเปลี่ยนแปลง หน้าที่การงาน กลัวการเจ็บป่วย กลัวยา กลัวหมอ กลัวการผ่าตัด กลัวตาย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง หรือเศรษฐานะที่ยากจน อาจมีกังวลกับความเป็นอยู่การกินการใช้ของตนด้วย นอกจากนี้ การยึดมั่นถือมั่นในความคิดของตนเองว่าถูกต้องเสมอ มีประสบการณ์มากกว่า การปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ การยอมรับคนที่เด็กกว่า อาจทำให้ขัดแย้งกับคนรอบข้าง ทะเลาะกัน และทำให้ไม่มีความสุขได้
เทคนิคการปรับตัว
ผู้สูงอายุควรเรียนรู้การทำจิตใจให้สงบ เปิดรับสิ่งใหม่ ไม่ยึดติดความคิด กรอบเดิมๆ อาจการยึดหลักและเข้าหาศาสนาที่ตนเองนับถือ โดยปฏิบัติศาสนกิจ ทำบุญ ฟังเทศน์ฟังธรรม ฝึกสมาธิด้วยวิธีการต่าง ๆ จะช่วยให้รู้สึกปล่อยวาง ลดความวิตกกังวล และความคิดฟุ้งซ่านลงได้มากอีกทั้งการพูดคุยกับคนรุ่นใหม่บ่อยๆ ก็สามารถลดช่องว่าตรงนี้ได้อย่างดี ลองนำไปใช้ดูนะครับ
3.การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
เมื่อผู้สูงอายุพ้นจากหน้าที่ ภาระความรับผิดชอบดูแล มักจะอยู่กับบ้านมากขึ้น มีเวลาว่างมากขึ้น ทำให้การเข้าสังคมน้อยลง โดยเฉพาะเมื่อเวลาผ่านไป คู่สมรส หรือเพื่อนๆอาจจะทยอยเสียชีวิตลง ทำให้รู้สึกเหงา เดียวดาย รู้สึกเครียดในความสัมพันธ์ที่แย่ๆแบบนี้ได้ง่าย
เทคนิคการปรับตัว
ผู้สูงวัยควรมองหากลุ่มคนต่างวัย คุยเปิดโลกทัศน์ ทำกิจกรรมรวมกลุ่มกันทั้งวัยใกล้ๆกันหรือเด็กๆก็ได้ การพูดคุยกับวัยรุ่นทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆ
ใช้เวลาว่างในการท่องเที่ยวกัน หรือคบเพื่อนใหม่ ๆผ่านกิจกรรมที่ชื่นชอบสนใจเหมือนกัน เดี๋ยวนี้สื่อออนไลน์แพร่หลายมาก เป็นช่องทางในการเสริมสร้างกิจกรรมที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียวครับ
ที่หมอกล่าวมาดังข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการเข้าใจ ช่วยในการดูแลและ
ส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เมื่อเริ่มต้นที่ความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว...
การดูแลด้านต่างของตัวผู้สูงวัยเองและคนรอบข้างก็จะดีเหมาะสมอย่างแน่นอนครับ
นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ (หมอเก่ง)
อายุรแพทย์ประจำโรงพยาบาลผู้สูงอายุ Chersery home และ
ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัย The Senizens
"บอกรักผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล"
ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัย The Senizens
• รับดูแลหลังออกจากโรงพยาบาล ดูแลหลังผ่าตัด
ระยะประคับประคอง ปัญหาด้านความจำ
• บริการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุ ระยะสั้น ระยะยาว
• ดูแลโดยทีมสหวิชาชีพที่มีประสบการณ์สูง
โทร. : 065-598-8783 ทุกวันเวลา 07.00-19.00 น.
Line ID: @thesenizens
www.thesenizens.com