โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก (Tennis Elbow)


โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก (Tennis Elbow)

โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก (Tennis Elbow)

สาเหตุโรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก
การใช้งานกล้ามเนื้อ extensor carpi radialis brevis muscle ซ้ำๆหรือใช้มาเป็นระยะเวลานาน เช่น การเขียนหนังสือ การยกของหนักๆ วาดภาพ ตัดกระดาษ ขันน็อต ทำสวน เล่นไวโอลิน หรือบางอาชีพที่มีลักษณะการกระดกข้อมือเป็นเวลานาน การบิดหมุนข้อมือร่วมกับการเคลื่อนไหวข้อศอกซ้ำๆ เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ ก่อสร้าง พนักงานคีย์ข้อมูล เป็นต้น ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บสะสมขึ้นได้ที่กล้ามเนื้อและบริเวณเส้นเอ็นหรือเกิดจากการเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันที่บริเวณข้อศอกขึ้นได้ โดยในระยะแรกอาจมีอาการปวดที่บริเวณข้อศอกด้านนอกเล็กน้อย หากไม่ได้รับการรักษาและยังทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆจะทำให้มีอาการปวดรุนแรงมากขึ้นได้

อาการเอ็นอักเสบ
ในระยะแรกอาจมีอาการปวดบริเวณข้อศอกเพียงเล็กน้อยหรือมีอาการขณะออกแรงในการทำกิจกรรมนั้นมากๆ หรือเป็นระยะเวลานานก็จะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น และเมื่ออาการมากขึ้นอาจมีอาการปวดแม้ทำกิจกรรมเล็กๆน้อยๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวข้อมือ เช่น การหิ้วถุงใส่ของ, การจับมือทักทาย และ การบิดมือเปิดฝาขวดน้ำ เป็นต้น นอกจากนั้นบางรายอาจจะมีอาการปวดจากบริเวณข้อศอกด้านนอกร้าวลงไปที่ด้าหลังมือและร้าวไปที่นิ้วกลางหรือนิ้วก้อยและอาจมีแรงในการกำมือลดลงอีกด้วย

การรักษาเอ็นอักเสบ
1.หยุดพักแขนชั่วคราว ผู้ป่วยควรงดทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่เป็นสาเหตุของโรค พยายามเคลื่อนไหวแขนและข้อมือให้น้อยลงหลีกเลี่ยงในลักษณะกำมือแน่นๆ หรือ บิดข้อมือแรงๆ เพื่อให้เอ็นและกล้ามเนื้อได้พัก โดยอาจต้องหยุดพักนานหลายสัปดาห์
2.รับประทานยาแก้ปวด สามารถรับประทานยาในกลุ่ม NSAIDs เพื่อช่วยลดอาการปวดบวมได้ เช่น
ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซน เป็นต้น
3.การทำกายภาพบำบัด
- ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดและบวมบริเวณข้อศอกด้านนอก
การประคบเย็นจะช่วยลดการอักเสบในช่วงแรกที่เริ่มมีอาการบาดเจ็บได้ดี ควรประคบครั้งละ 20 นาที โดยประคบทุก 2 ชั่วโมงใน 1-2วันแรกที่มีอาการ
- อัลตร้าซาวน์เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ใช้รักษาบริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อที่การบาดเจ็บผลของอัลตร้าซาวน์จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นบริเวณเนื้อเยื่อ กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ลดอาการปวดและอักเสบได้
- การยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการออกกำลังกายเฉพาะมัดกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกที่จะเสริมสร้าง
กำลังกล้ามเนื้อในขณะการทำกิจกรรมได้

บทความโดย : อัจจิมา ปล้องอ้วน (นักกายภาพบำบัด)
รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home International

บอก "รัก" ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel: 084-264-2646
Line id @cherseryhome

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้