การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ทำได้อย่างไร ? - Chersery Home


ฟื้นฟูปอดหลังติดโควิด-19

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ทำได้อย่างไร?

1. การฝึกการหายใจ (Breathing Exercise)
การฝึกการหายใจนั้นจำเป็นในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัว
ทำได้โดยการออกแรงในการหายใจเข้าทางจมูกจนสุด แล้วควบคุม
ลมที่หายใจออกมาทางปากช้าๆ หรือพูดคำว่า “อู” ยาวๆ ช้าๆ จนกระทั่งลมหมดปอด
แล้วหายใจเข้าใหม่ให้เต็มปอด แล้วออกช้าๆ เช่นเดิม เนื่องจากพังผืดจะทำให้เนื้อปอด
มีความแข็ง พังผืดที่แข็งเมื่อได้ขยับบ่อยๆ ก็จะมีการยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้ elasticity
หรือความยืดหยุ่นของเนื้อปอดค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา

2. การบริหารปอด (Lung Expansion Exercise)
ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัวเช่นกัน เป็นกลยุทธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
อย่างหนึ่งที่ได้ผลดีทำได้โดยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ที่เรียกว่า Triflow (Incentive spirometry)

โดยให้คนไข้ดูดลูกบอลที่มีทั้งหมด 3 ลูก ใน 3 ช่อง ซึ่งจะลอยขึ้นกี่ลูกก็ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณลมที่สูดเข้าไป ยิ่งสูดลมเข้าไปมาก ลูกปิงปองก็จะลอยขึ้นเยอะ การดูดลมเข้า
ปอดโดยใช้เครื่อง Triflow นั้น จึงถือเป็นเทคนิคการบริหารปอดรูปแบบนึงที่ทำให้ปอด
ขยายเต็มที่ ช่วยให้ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และค่อยๆ ฟื้นตัวได้

3. การออกกำลังกายเบาๆ (Light General Exercise)
สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่ 3-4 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ร่างกายอาจจะยังมีการอ่อนเพลีย
แต่ปอดอาจจะเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว ดังนั้น จึงต้องมีการออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหว
ร่างกายมากขึ้น (ยังคงเบาๆ อยู่) โดยอาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ เช่น
การลุกเดินบ่อยๆ ไม่อยู่เฉย พอร่างกายเริ่มชินแล้ว สัก 3-5 วัน ค่อยขยับความหนักขึ้นไป
อาจจะเดินให้ไวขึ้น หรือวิ่งเหยาะๆ เบาๆ ได้เช่นกัน

เพื่อให้มีสุขภาพปอดที่ดี ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรง และสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ
ได้ดังเดิมได้เร็วที่สุด

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ
รพ.ผู้สูงอายุ Chersery Home Intentational

บอก "รัก" ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
Tel: 084-264-2646
Line id : @cherseryhome
www.cherseryhome.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้