การเตรียมที่อยู่อาศัยให้พร้อมสำหรับผู้สูงวัย (Elderly Living Solution)


การเตรียมที่อยู่อาศัยให้พร้อมสำหรับผู้สูงวัย (Elderly Living Solution)

การเตรียมที่อยู่อาศัย ให้พร้อมสำหรับผู้สูงวัย (Elderly Living Solution)

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าที่อยู่อาศัยนั้นมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเป็นอย่างมากเนื่องจากในสังคมไทยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักใช้เวลาอยู่ในบ้านตลอดทั้งวันประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในหลายๆด้านของผู้สูงอายุการปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม  จึงมีความสำคัญอย่างมากเพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ และทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้วยังช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่นและมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย

เนื่องจากผู้สูงอายุแต่ละคนมีความเสื่อมถอยของร่างกายที่แตกต่างกันจึงควรคำนึงถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยที่เฉพาะและเหมาะสมกับแต่ละตัวบุคคลมากขึ้นที่พักอาศัยของผู้สูงอายุจึงควรเป็นพื้นที่ที่ออกแบบด้วยความใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกปลอดภัยลดความเสี่ยงต่อการลื่นล้มและอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นซึ่งจากการวิจัยพบว่าสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุดสำหรับผู้สูงอายุคือบริเวณห้องน้ำและบันได

ดังนั้นการออกแบบที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุต้องใส่ใจตั้งแต่โครงสร้างการตกแต่งบ้านการจัดวางหรือติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับความเสื่อมถอยของร่างกาย 4 ด้าน คือ

1. การมองเห็น
2. การได้ยิน
3. การเคลื่อนไหวร่างกาย
4. ความไม่สมดุลของฮอร์โมนและอารมณ์

โดยหลักการออกแบบเบื้องต้น ควรคำนึงถึง
การป้องกัน และลดอุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิดขึ้นการทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ง่าย และสะดวกขึ้นการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้สูงวัย หากมีที่พักอาศัยเดิมอยู่แล้วอาจไม่จำเป็นต้องปรับปรุงบ้านทั้งหลังเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุจะคุ้นเคยกับการใช้พื้นที่เดิมๆเช่นห้องนอนระเบียงหน้าบ้านเป็นต้นเราจึงควรเลือกปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุให้ปลอดภัยใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากนักยกตัวอย่างเช่น

พื้นบ้าน หรือพื้นที่ภายในห้องที่ให้ผู้สูงอายุอยู่ ควรเรียบเสมอกัน ไม่ยกพื้นต่างระดับหรือมีธรณีประตู วัสดุกรุพื้นผิวต้องไม่เรียบลื่นจนเกินไป แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการมองเห็น มีทางลาดให้รถเข็นขึ้นลงอย่างสะดวก (ตามอัตราส่วน 1:12) ทางเดินต้องมีราวจับช่วยพยุงตัวโดย พื้นบ้านและทางเดินภายในบ้าน ไม่ควรปูพรม เพราะนอกจากจะอมฝุ่นแล้วยังดูแลรักษายาก ถ้าเป็นกระเบื้องก็ต้องเลือกชนิดที่ไม่ลื่น ไม่มัน ไม่มีลวดลายเยอะเกินไปที่ทำให้เกิดตาลาย ควรปรับให้เป็นพื้นเรียบเสมอกัน เพื่อป้องกันการลื่นล้ม เลี่ยงการทำพื้นบ้านต่างระดับ หรือหากต่างระดับต้องทำเครื่องหมายชัดเจน
 
ห้องนอน ควรอยู่ชั้นล่าง เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงโดยไม่ต้องขึ้น-ลงบันได และควรอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นและเข้าถึงห้องน้ำได้สะดวก หลีกเลี่ยงทิศตะวันตก เพราะแดดจะส่อง ตอนบ่ายทำให้ห้องร้อนอบอ้าว

ห้องน้ำ ควรมีการแยกระหว่างส่วนเปียกและส่วนแห้ง แต่ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ พื้นห้องน้ำควรมีผิวสัมผัสที่หยาบ เพื่อความปลอดภัยและกันลื่น และควรเลือกใช้สุขภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคน ภายในห้องน้ำควรติดตั้งราวจับเพื่อช่วยในการพยุงตัวทั้งสองข้างของอ่างล้างหน้าและโถสุขภัณฑ์ โดยสามารถเลือกใช้ราวทรงตัวรูปตัวแอลหรือราวทรงตัวแขนพับแบบสวิงตามความเหมาะสม หรือเพิ่มเติมในส่วนของราวจับที่ผนังนำทางไปจนถึงส่วนอาบน้ำ ติดตั้งสูงจากพื้น 60 – 75 เซนติเมตรทั้งนี้ สีของราวจับควรดูแตกต่างจากสีของกระเบื้องผนังอย่างชัดเจน

ห้องนั่งเล่น ควรมีช่องรับแสงทางที่เพียงพอ หรืออยู่ในทิศตะวันออกเพื่อรับแสงยามเช้าทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ติดไฟแสงสว่างให้เพียงพอ ไม่มืดหรือสลัวจนเกินไป เฟอร์นิเจอร์ควรใช้แบบใช้งานง่าย เก้าอี้โยก เก้าอี้เอนหลังได้ และมีพื้นที่โดยรอบเว้นระยะไม่ตั้งเบียดชิดจนเกินไป เพราะผู้สูงอายุบางคนก็มีความจำเป็นต้องใช้รถเข็น หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงตัวในการลุก นั่ง เดิน


บทความจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
หนังสือ การดูแลสุขภาพผู้สูงวัยแบบองค์รวม
The Senizens  premium senior complex, community & nursing home

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy