ทำไมถึงต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังผ่าตัด ?


ทำไมถึงต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังผ่าตัด ?

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ Cardiac Rehabilitation Program
ทำไม ถึงต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ หลังผ่าตัด ?


1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจกลับมามีความสามารถและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมือนปกติ
2.เพื่อให้อาการหอบเหนื่อยน้อยลง มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนก่อนป่วยทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ
3.สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ

ข้อห้ามในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

-Unstable angina
-ภาวะหัวใจวายที่ควบคุมไม่ได้
-ลิ้นหัวใจตีบขั้นปานกลางถึงรุนแรง
-Recent pulmonary embolism หรือ severe pulmonary arterial hypertension
-ความดันโลหิต systolic ขณะพัก > 200 มม.ปรอท หรือความดันโลหิต diastolic ขณะพัก> 100 มม.ปรอท
-ความดันโลหิต systolic ลดลง> 20 มม.ปรอท เมื่อเปลี่ยนจากที่นั่งเป็นท่ายืน
-ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือ เต้นช้ามากที่ควบคุมไม่ได้
-ไข้หรือภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน
-เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
-ปัญหาทางกระดูกและข้อที่จะเป็นอุปสรรคในการออกกำลังกาย

ต้องหยุดออกกำลังกายเมื่อ?
1.เมื่อยล้ามาก
2.เครื่องติดตามผู้ป่วยทำงานไม่ปกติ
3.เวียนศีรษะ มึนงง เซ ซีด เขียว เหนื่อยหอบ คลื่นไส้อาเจียน
4.เริ่มมีเจ็บหน้าอก
5.ความดันโลหิตตก
6.ความดันโลหิตสูงขึ้นมาก (ความดัน systolic มากกว่า 220 หรือ diastolic มากกว่า 110 มม.ปรอท)
7.อัตราการเต้นหัวใจต่ำลงมากกว่า 10 ครั้ง/นาที เมื่อออกกำลังกาย
8.ถ้าคืนที่ผ่านมานอนไม่หลับจนร่างกายอ่อนเพลียมาก
9.อากาศร้อนจัด หนาวจัด มีฝุ่นละออง ควัน ไอเสียมาก

ระยะต่าง ๆ ของการฝึก
ระยะที่ 1 ระยะที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ในโรงพยาบาล
ระยะที่ 2 ระยะที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลโดยใช้ ระยะเวลาประมาณ 8-12 สัปดาห์
ระยะที่ 3 ระยะผู้ป่วยนอกต่อเนื่อง (เริ่มในระยะ 3 เดือน)

การฟื้นฟูสภาพหัวใจ ระยะที่ 1 (Phase 1)
ระยะผู้ป่วยใน (Inpatient Phase)
ระยะที่ 1 คือระยะที่ผู้ป่วยอยู่ ในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์
1.ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนาน ๆ
2.ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างปลอดภัย
3.ช่วยให้ผู้ป่วยมี ความมั่นใจในการปฏิบัติตน และ ลดความเครียดอาจที่เกิดขึ้น
4.เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องหลังออกจากโรงพยาบาลรวมทั้งสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้

การออกกำลังกาย
รูปแบบ (mode) ใช้การออกกำลังกายแบบ callisthenic exercise และการเดินเป็นหลัก
ระยะเวลาในการออกกำลังกาย (duration)5-10 นาทีในระยะแรก และค่อยๆเพิ่มขึ้นได้ 20-30 นาที

ความถี่ (frequency)
วันละ 2 ครั้ง ขึ้นกับสภาพผู้ป่วย และในผู้สูงอายุ 2 ครั้ง/สัปดาห์
เป้าหมายของการฟื้นฟูสภาพในระยะที่ 1 คือ ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ และทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายในระดับ 5 METs ได้
•เริ่มจากบริหารบนเตียง
•เคลื่อนไหวต่อเนื่องกันช้า ๆ ไม่เกร็งค้าง ไม่กลั้นหายใจ
•เริ่มจากข้อมือ ข้อเท้าก่อน ค่อยไปที่ข้อใหญ่


1.กระดกข้อมือขึ้นลง ทำซ้ำ 20 ครั้ง
2.กระดกข้อเท้าขึ้นลง ทำซ้ำ 20 ครั้ง
3.นั่งข้างเตียง เหยียดเข่าขึ้นลง ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง 2 รอบ
4.นั่งข้างเตียงยกเข่าขึ้นด้านบน ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง 2 รอบ
5.นั่งข้างเตียงนำมือแตะที่หัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง หมุนไหล่ไปทางข้างหน้า-ไปข้างหลัง ทำซ้ำ 20 ครั้ง
6.นั่งข้างเตียงยกแขนขึ้นเหนือศีรษะทั้ง 2 ข้าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง 2 รอบ
7.นั่งข้างเตียงเหยียดแขนทั้ง 2 ข้าง พร้อมพับศอกและเหยียดออก ทำซ้ำ 10 ครั้ง 2 รอบ
8.เอียงศีรษะไปทางด้านข้างซ้าย-ขวา ทำสลับข้างไปมา ทำซ้ำ 20 ครั้ง
ถ้าผู้ป่วยออกกำลังกายได้ดี ไม่มีอาการผิดปกติ วันต่อมาสามารถมายืนออกกำลังกายข้างเตียง

นอกจากออกกำลังกายแล้วยังต้องสอนเรื่องการหายใจ การไอ เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ และยังช่วยระบายเสมหะหลังการผ่าตัดได้อีกด้วย

1.การฝึกการหายใจ เป็นการหายใจโดยใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing)
-นั่งหรือนอนในท่าสบาย
-วางมือข้างหนึ่งบนทรวงอก อีกข้างบริเวณลิ้นปี่
-หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ให้มือบนหน้าท้องยกสูงขึ้น มือบนทรวงอกไม่ขยับ
-หายใจออกทางจมูกช้า ๆ ให้มือบนหน้าท้องลดต่ำลง มือบนทรวงอกไม่ขยับ

2.การกระแอม (Huffing)
ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจมักจะมีแผลที่กระดูกหน้าอก (Sternum) มีแผลที่ผ่าตัดเรียก median sternotomy ในการกระแอมต้องนำผ้าขนหนูพับขนาดพอดี นำมาทาบไว้กับแผลผ่าตัด เพื่อที่จะไม่ให้เกิดบาดเจ็บเวลาทำการกระแอม ทำได้โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้า ๆ หายใจเข้าลึก ๆ กลั้นหายใจแล้วพ่นลมหายใจออกมาทางปากคล้ายทำเสียง ฮ่า ฮ่า (แบบไม่มีเสียง)

คลินิกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home
Tel: 084 264 2646 / 084 264 2662
Line id: @cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com
บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
All the best for your elder

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy